วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านต่าง ๆ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านต่างๆ

                1. การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงาน
ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ สามารถทำฉบับซ้ำได้จำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้งานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร เทเล็กซ์ เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ

                2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม

                โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง นำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) เข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน MIS เป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยพัฒนา การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในโรงงาน ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศของระบบ MIS จึงนำมาประยุกต์ใช้กับงานอุตสาหกรรมได้ทุกประเภท ทั้งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดย่อม และอุตสาหกรรมในครัวเรือน

               3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
                สถาบันการเงินต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ หรือ
ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคาร ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงิน ชำระเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งที่ทำด้วยเช็ค หรือเงินสดได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทำให้ธนาคารทุกสาขาและธนาคารเกือบทุกแห่ง สามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยลูกค้าไม่ต้องเดินทางไปยังสาขาหรือธนาคารที่ตนเปิดบัญชีไว้เท่านั้น สามารถใช้บริการจากธนาคารใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ตนเองมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานการพาณิชย์ เช่น การใช้ระบบรหัสแท่ง (Barcode) ในการคำนวณราคาสินค้า
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการบริการการสื่อสาร  
ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น

               5.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ดังนี้
                5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System :HIS) ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชทะเบียน (Patient Record) ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน
                5.2 ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดท้องถิ่น เช่น เมื่อผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้ แพทย์และสาธารณสุขอำเภอสามารถตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากท้องถิ่นใด ตำบลอะไร ในเขตนั้นมีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็กเท่าไหร่ เพื่อจะได้จัดหาวัคซีนป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดได้ทันที
                5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรคระบบสารสนเทศที่ใช้กับงานดังกล่าวซึ่งมีชื่อเสียงและมีการนำมาใช้ในราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้แก่ ระบบ Mycin ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งได้เริ่มมีผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่น ๆ มากขึ้น
              6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการศึกษา
มีแนวทางในการใช้มากมาย แต่ที่นิยมใช้ทั่วไปมีอยู่ 6 ประเภท ดังนี้
- การ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
- การศึกษาทางไกล
- เครือข่ายการศึกษา
- การใช้งานในห้องสมุด
- การใช้งานในห้องปฏิบัติการ
- การใช้ในงานประจำและงานบริหาร

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรมในท้องถิ่น

ประวัติโคมลอย          โคมลอย หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ว่าวหรือ โกม ยังแยกเป็นว่าวลม คือ ใช้ปล่อยในเวลากลางวัน และว่าวไฟใช้ปล่อยเวลากลางคืนโคมลอยมีลักษณะคล้ายลูกบอลลูน วัตถุประสงค์ ในการปล่อยโคมลอยโดยทั่วไปแล้วชาวบ้านจะมีความเชื่อกันคือ
1. เพื่อทำเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชาสังฆบูชา
2. เพื่อให้โคมนั้นช่วยนำเอาเคราะห์ร้าย ภัยพิบัติต่างๆ ให้หายไปจากหมู่บ้าน
3. เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ
วิธีทำ            การทำโคมลอยนั้นในแต่ละหมู่บ้านก็จะมีคนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำ การทำโคมจะ
ร่วมกันทั้งหมู่บ้าน เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีการปล่อยโคม ก็จะประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ชาวบ้าน ต่างก็จะเอากระดาษที่เรียกกันว่า กระดาษว่าว มีสีต่างๆ กันหลายสีมารวมกันที่วัด ช่วยกันทำ โดยจะมีเจ้าตำรับหรือชาวบ้านจะเรียกว่า “เจ้าต่ำฮา” ได้กล่าวไว้ว่า จะใช้กระดาษเนื้อบาง ติดประกอบกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทำเป็นลักษณะของถุงลมก้นใหญ่ วงปากแคบ กระดาษที่ใช้ทำนั้น จะใช้กระดาษสีเดียวหรือหลาย สี ก็ได้ แล้วแต่ความพอใจ ในสมัยก่อนนิยมมาช่วยกันทำที่วัด เพราะต้องใช้ สถานที่ทำเป็นลานกว้าง (เจ้าตำรา) เป็นคนคอยควบคุมดูแลให้เป็นไปตามตำรา ต่างก็ช่วยกันคนละไม้คนละมือจนเสร็จ
วิธีปล่อย           เมื่อทำเสร็จแล้วก็ต้องรอฤกษ์ในการปล่อย จนกระทั่งได้เวลาเหมาะแล้วก็จะช่วยกัน บ้างก็ถือไม้ค้ำยันไว้ เพื่อให้โคมลอยทรงตัวได้ อีกพวกหนึ่งก็เอาเชื้อเพลิงซึ่งจะใช้ผ้าชุบน้ำมันยางเผาหรือใช้ชัน ซึ่งเรียกกันว่า ขี้ขะย้า เผาเพื่อให้เกิดควัน นอกนั้นอยู่รอบๆ โดยเฉพาะพวกเด็กๆ จะมาห้อมล้อมดูด้วยความสนใจ บางทีก็จะมีกองเชียร์คือ กลองซิ่งม่องตีกันอย่างสนุกสนาน เมื่ออัดควันเข้าเต็มที่แล้วก็จะปล่อยขึ้นไปก็จะมีเสียงประทัดดังสนั่นหวั่นไหว กลองเชียร์ก็เร่งเร้าทำนองกลองให้ตื่นเต้นเร้าใจ
การปล่อยว่าวหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ร้ายภัยพิบัติต่าง ๆ ออกไปจากหมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไป ถ้าไปตกในบ้านใครบ้านนั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็นการทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีในหมู่บ้านอีกด้วยในปัจจุบันนี้ ก็ได้เริ่มนำเอาโคมลอยมาปล่อยในประเพณีสำคัญ ๆ เช่น งานล่องสะเปา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา งานลอยกระทง และงานที่เป็นสิริมงคลและอวมงคล

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

ยุคที่ 1 (พ.ศ.2549 – 2501 )
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริงเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
  • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
  • ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
  • เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
 ยุคที่ 2 (พ.ศ.2502 – 2506 )
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
  • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
  • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
  • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
  • เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
ยุคที่ 3 (พ.ศ.2507 – 2512 )
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
  • ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่ 4  (พ.ศ.2513 – 2532 )
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
  ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ยุคที่ 5  (พ.ศ.2533 – ปัจจุบัน )
ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้ โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล


 

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนการสอน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เวลา ช่วงเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
เรื่อง ทศวรรษ                                                                                                        เวลา  1  ชั่วโมง
1.            สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ทำให้เข้าใจช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่ปรากฏในเอกสารต่างๆ

2.            ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1  ตัวชี้วัด
ส 4.1      ป.4/1      นับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ
2.2  จุดประสงค์การเรียนรู้
-      นับช่วงเวลาเป็นทศวรรษได้

3.            สาระการเรียนรู้
3.1  สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.             ความหมายและช่วงเวลาของทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ
2.             การใช้ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษเพื่อทำความเข้าใจช่วงเวลาที่ปรากฏในเอกสารต่างๆ                 เช่น หนังสือพิมพ์
        3.2  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
                -
4.   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
      4.1  ความสามารถในการสื่อสาร
      4.2  ความสามารถในการคิด
                -      ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                          -      ทักษะการคิดวิเคราะห์
        4.3  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5.   คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.    มีวินัย
2.    ใฝ่เรียนรู้
3.    มุ่งมั่นในการทำงาน
6.   กิจกรรมการเรียนรู้   (วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)
¹  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่  1
1.             ครูนำนักเรียนยืนขึ้นแล้วโยกซ้าย โยกขวา  จากนั้นปรบมือ  5  ครั้ง  3  ครั้ง ปฏิบัติสลับไปมาประมาณ  2-3  รอบ  เพื่อบริหารสมอง  (Brain  gym)
2.             ครูให้นักเรียนดูข้อความต่อไปนี้
-                   ปัจจุบันเราอยู่ในทศวรรษที่ 50 ทางพุทธศักราช
-                   ปัจจุบันเราอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 26
-                   ปัจจุบันเราอยู่ในช่วงสหัสวรรษที่ 3 ของพุทธศักราช

                จากนั้นครูถามนักเรียนว่า
                        -      เวลาทั้ง 3 ข้อนี้แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
                        -      ปัจจุบันเราอยู่ตรงกับช่วงเวลาใดในทั้ง 3 ข้อ
1.             นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและเฉลยคำตอบ
2.             ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ  4-5  คน  โดยให้นักเรียนเลือกกลุ่มเองตามความสมัครใจ 
ครูให้นักเรียนคัดเลือกหัวหน้ากลุ่ม รองหัวหน้ากลุ่ม เลขานุการกลุ่ม และตั้งชื่อกลุ่ม
3.             ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา เรื่อง ความสำคัญของเวลากับประวัติศาสตร์ 
ในหนังสือเรียน
  เสร็จแล้วเตรียมส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นว่า จากการศึกษาได้ความรู้เรื่องใดบ้าง 
4.             ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน  เมื่อกลุ่มใดนำเสนอเสร็จครูจะอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น 
5.             ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง ความสำคัญของเวลากับประวัติศาสตร์ แล้วให้นักเรียนทำใบงาน
ที่ 1.1 เวลากับทศวรรษ โดยให้นักเรียนบอกความหมายของทศวรรษ แล้วยกตัวอย่างการใช้ทศวรรษมา 3 ตัวอย่าง
6.             ครูแนะนำให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
7.   การวัดและประเมินผล
วิธีการวัด
เครื่องมือ
เกณฑ์
ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.1
ใบงานที่ 1.1
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

8.   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                        8.1  สื่อการเรียนรู้
1)            หนังสือเรียน ประวัติศาสตร์ ป.4
2)            ใบงานที่ 1.1 เวลากับทศวรรษ 
                        8.2  แหล่งการเรียนรู้
        1)  ผู้ปกครอง  และ/หรือผู้รู้


9. ความเห็นของผู้บริหาร
                        ..........................................................................................................................................
                       ...........................................................................................................................................
                                                                                               
ลงชื่อ..................................................
                                                                                                        (.................................................)
                                                                                ตำแหน่ง..........................................................
10. บันทึกหลังการสอน
10.1 ผลการเรียนรู้
                ................................................................................................................................................................
               10.2  ปัญหาและอุปสรรค
                ..............................................................................................................................................................
              10.3 ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
                .............................................................................................................................................................
                                                                                ลงชื่อ.................................................ครูผู้สอน
                                                                                               (..............................................)
                                                                                ตำแหน่ง       ..........................................
                                                                                                ........../........................../.........

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว

1. ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ นาย......ศุภชัย..............นามสกุล .........กันทะเนตร...................
อีเมล์ ................woodykanthanet@gmail.com................................
2. ข้อมูลสถานที่ติดต่อ
ชื่อหน่วยงาน .................บ้านแก.................... เลขที่ .........114..หมู่.2............
ตำบล ........ป่าสัก............. อำเภอ ...........ภูซาง.......... จังหวัด ............พะเยา...........
รหัสไปรษณีย์ .......56110............ โทรศัพท์ ................083-3241294................................
3. ข้อมูลประวัติการศึกษา
ระดับปริญญาตรี
สาขาวิชา ..........บริหารรัฐกิจ.............. คณะ ...........รัฐศาสตร์..............
ปีการศึกษา ........2551............ สถาบันการศึกษา ..........มหาวิทยาลัยรามคำแหง............
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ปีการศึกษา .........2546....... สถาบันการศึกษา ........โรงเรียนภูซางวิทยาคม..............
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ปีการศึกษา ......2543.......... สถาบันการศึกษา .......โรงเรียนภูซางวิทยาคม.........
4. ข้อมูลประวัติการทำงาน
1. พ.ศ..2552.. ถึง พ.ศ. ..2553...ชื่อหน่วยงาน .....................กศน.อำเภอเทิง.............................
ตำแหน่งงาน ....................ครูศรช........................ ระยะเวลาทำงาน ..........1........ ปี
2. พ.ศ. .2553.. ถึง พ.ศ. .ปัจจุบัน.... ชื่อหน่วยงาน ..........สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4...............
ตำแหน่งงาน ...........เจ้าหน้าที่กลุ่มงานวินัยและนิติการ............. ระยะเวลาทำงาน ..............-............. ปี